บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันจันทร์ ที่ 21 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559( เวลา 14.30-17.30น.)
ทำโครงการ
ชื่อโครงการ : นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว
หลักการและเหตุผล
การอ่านเป็นการพัฒนาความคิด ซึ่งเราสามารถปลูกฝังการอ่านให้แก่เด็กได้ตั้งแต่วัยเยาว์ นั่นหมายถึงผู้ปกครองสามารถอ่านหนังสือหรือนิทานให้แก่เด็กได้ตั้งแต่ขวบปีแรก และให้ทำจนเป็นนิสัย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก
การตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และธรรมชาติของเด็กในระดับปฐมวัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่เด็กในวัยนี้ การเล่านิทานเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็ก การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวันมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการเล่านิทานทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์แล้ว เนื้อหาในนิทานยังสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนของเด็ก อีกทั้งยังช่วยเสริม สร้างพัฒนาการในด้านภาษาของเด็กได้อีกด้วย เด็กมักจะรบเร้า เรียกร้องให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังทุกวัน แม้ว่านิทานเรื่องนั้นเด็กจะเคยฟังมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม เด็กบางคนอาจต้องการออกมาเล่านิทานให้เพื่อนๆฟัง หรือเด็กบางคนอาจต้องการแสดงบทบาทของตัวละครในนิทาน พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและธรรมชาติของเด็กทุกคนที่ชอบฟังนิทาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กในระดับใด การฟังนิทานนอกจากจะทำให้เด็กมีความสนุกสนาน และผ่อนคลายอารมณ์แล้ว นิทานยังช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางภาษา โดยเฉพาะทักษะการฟัง การพูด การกล้าแสดงออก การคิดและจินตนาการที่กว้างไกล
เนื่องจากในปัจจุบันเด็กไม่ค่อยอ่านหนังสือหรืออาจเกิดจากผู้ปกครองไม่ค่อยสนใจ ผู้จัดทำได้คิดหาวิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย โดยการจัดทำโครงการ “นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว” เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กรักการอ่านและอีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อครอบครัว
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองและส่งเสริมการอ่านโดยผ่านนิทาน
2.เพื่อสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก
เนื้อหา
นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัวส่งเสริมการอ่านผ่านเทคนิคการเล่านิทานด้วยวิธีการ ดังนี้
1.การเลือกนิทาน
2.การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
3.ประโยชน์จากการฟังนิทาน
4.วิธีเล่านิทาน
การเล่านิทานให้ลูกฟัง เป็นการเล่าเรื่องหรือถ่ายทอดเรื่องราวของนิทานที่พ่อแม่ ผู้ใหญ่ หรือครูเล่าให้เด็กฟัง อาจจะเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา เรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กมีความสนุกสนาน และสอดแทรกแนวคิด คุณธรรม ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ให้เด็กเข้าใจ ด้วยน้ำเสียง ท่าทาง สื่อและวัสดุอุปกรณ์ที่ทำให้การเล่านิทานนั้นน่าสนใจและสนุกสนานมากขึ้น
การตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และธรรมชาติของเด็กในระดับปฐมวัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่เด็กในวัยนี้ การเล่านิทานเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็ก การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวันมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการเล่านิทานทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์แล้ว เนื้อหาในนิทานยังสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนของเด็ก อีกทั้งยังช่วยเสริม สร้างพัฒนาการในด้านภาษาของเด็กได้อีกด้วย เด็กมักจะรบเร้า เรียกร้องให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังทุกวัน แม้ว่านิทานเรื่องนั้นเด็กจะเคยฟังมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม เด็กบางคนอาจต้องการออกมาเล่านิทานให้เพื่อนๆฟัง หรือเด็กบางคนอาจต้องการแสดงบทบาทของตัวละครในนิทาน พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและธรรมชาติของเด็กทุกคนที่ชอบฟังนิทาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กในระดับใด การฟังนิทานนอกจากจะทำให้เด็กมีความสนุกสนาน และผ่อนคลายอารมณ์แล้ว นิทานยังช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางภาษา โดยเฉพาะทักษะการฟัง การพูด การกล้าแสดงออก การคิดและจินตนาการที่กว้างไกล รวมถึงการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับเด็กจากการฟังนิทานที่มีเนื้อหาสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามจากการเลียนแบบพฤติกรรมของตัวละครในนิทานที่เด็กได้ฟัง เด็กจะมีความเชื่อ ศรัทธา และพร้อมที่จะปฏิบัติตนตามบทบาทของตัวละครนั้นๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มักจะมีการเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆจากการเลียนแบบบุคคลที่เด็กรักและศรัทธาและเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูร่า (Bandura Social Learning Theory) ที่เชื่อว่าเด็กเรียนรู้พฤติกรรมจากการใช้ตัวแบบ สัญลักษณ์และทุกสิ่งทุกอย่างในสังคม (Learning through modeling) ซึ่งเกิดจากการรับรู้พฤติกรรม และสามารถแสดงพฤติกรรมหรือกระทำตามตัวแบบนั้นได้ นิทานมีอิทธิพลต่อเด็กปฐมวัยมาก การที่พ่อแม่และครูสร้างความใกล้ชิดกับเด็กโดยการเล่านิทานจะช่วยให้เข้าใจเด็กมากขึ้น ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน มีความรู้สึกอบอุ่นและใกล้ชิดผู้เล่า การเล่านิทานให้เด็กฟังอย่างสม่ำเสมอทำให้เด็กรับรู้ถึงความรู้สึกว่าได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ การเล่านิทานให้เด็กฟังไม่ใช่เล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกและตลกขบขันเท่านั้น แต่ความเป็นจริงเด็กต้องการความน่าสนใจและประโยชน์ที่ได้จากการฟังนิทานในด้านของการสร้างสรรค์จินตนาการ ความคิด ความเข้าใจ ความฝันและการรับรู้ให้กับเด็ก ตัวละครแต่ละตัวในนิทานจะสร้างจินตนาการในสมองเด็ก การเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กในการสร้างเสริมเด็กได้ในทุกเรื่องรวมถึงการสร้างนิสัยรักการอ่าน อีกทั้งยังช่วยส่ง เสริมพัฒนาการตามวัยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้เกิดกับเด็กได้อีกด้วย
เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 ครอบครัว
เป้าหมายเชิงคุณภาพ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจในโครงการ
วันเวลาและสถานที่
วันศุกร์ ที่ 25 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 ณ ชุมชนสุเหร่าแดง กรุงเทพมหานคร
รูปแบบการจัดโครงการ / เทคนิค
- อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว
- การจัดป้ายนิเทศให้ความรู้โครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว
- แผ่นพับให้ความรู้โครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว
แผนการดำเนินงาน
1.สำรวจความต้องการของผู้ปกครอง
2.เขียนโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง
3.การเตรียมงาน (P)
- วางแผนเกี่ยวกับโครงการ
- สื่อที่ใช้การในการทำโครงการ
- การแบ่งหน้าที่กันทำโครงการ
4.การดำเนินงาน (D)
- จัดทำนิทรรศการ
- จัดทำกิจกรรมให้กับผู้ปกครอง
-สรุปกิจกรรม
5.การติดตามผล (C)
-การใช้แบบสอบถามผู้ปกครอง
การสรุปผลและการประเมินผล (A)
-วิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำรูปเล่มรายงาน
งบประมาณรวม 1000 บาท
1.ค่าใช้สอย 500 บาท
• ค่ารถ 200 บาท
• อาหารว่าง 300 บาท
2. ค่าวัสดุ 500 บาท
• หนังสือนิทาน 500 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้ปกครองมีความรู้ สามารถนำนิทานไปปฏิบัติในเวลาว่างกับเด็กและเด็กรักการอ่านหนังสือ
การประเมินและติดตามผล
1. ประเมินจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง
2. สะท้อนความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มในการทำกิจกรรม
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.นางสาวทาริกา เสมวงค์ ประธานโครงการ
2.นางสาวสุธาสิณี อายุมั่น รองประธานโครงการ
3.นางสาววราพร สงวนประชา กรรมการ
4.นางสาวนิตยา นนทคำจันทร์ กรรมการ
5.นางสาวนันทนาภรณ์ คำอ่อน กรรมการ
6.นางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา กรรมการ
7.นางสาวสาวิตรี จันทร์สิงห์ กรรมการและเลขาณุการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น