พุยพุย

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันจันทร์   ที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (เวลา 14.30-17.30 น.)



เนื้อหาที่เรียน 
สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้ อาจารย์นัดหมายให้พบในวันพุธ ที่ 9  เวลา 9.00 น.ที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการสาขาเรา เพื่ออธิบายเรื่องการสอบปลายภาค เมื่อถึงเวลา อาจารย์ได้พูดเกี่ยวตารางเรียนปี 3 เทอม 2  จากนั้นอาจารย์นับตัวปั๊ม เซ็คชื่อแจกรางวัลเด็กดีให้กับเพื่อนๆทั้งสองเซค  และกิจกรรมสุดท้ายได้นำโครงการ นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว ให้อาจารย์ตรวจงานให้ เพื่อจะไดปรับปรุงโครงการให้ดียิ่งขึ้น



อาจารย์อธิบายรายวิชาที่นักศึกษาต้องเรียนในเทอมสอง






ตัวปั๊มเซ็คชื่อ





นำโครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัวให้อาจารย์ตรวจดูความเรียบร้อย 






ขอบคุณสำหรับรางวัลที่อาจารย์ได้มอบให้










การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การทำโครงการในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากได้รับความปรึกษาแนะนำจากอาจารย์และความร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกในกลุ่ม การนำความรู้ไปใช้ เช่น การใช้เทคนิคการเล่านิทาน การพูดคุยกับผู้ปกครองและทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้ก็ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายถึงตารางเทอมสอง เพื่อจะได้ลงทะเรียนได้ถูกกลุ่ม สำหรับการทำโครงการก็รู้สึกเหนื่อย แต่หนูก็ขอบคุณมากที่ทำให้ได้ประสบการณ์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การทำงานเป็นกลุ่ม การปรึกษาอาจารย์ การติดต่อประสานงานสถานที่ที่จะไปทำโครงการและการพูดให้ผู้ปกครองเข้าใจโครงการ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆก็ตั้งใจฟังอาจารย์ มีบางครั้งที่คุยเสียงดังขึ้นมา แต่พออาจารย์บอกเพื่อนๆก็เงียบไป

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายกิจกรรมต่างๆได้ละเอียดดี ขอบคุณอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาโครงการที่ได้ให้คำแนำนำต่างๆ จนโครงการสำเร็จลุ่วงไปด้วยดี






วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันจันทร์ ที่ 21 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559( เวลา 14.30-17.30น.)


ทำโครงการ ณชุมชนสุหร่าแดง กรุงเทพมหานคร

ชื่อโครงการ : นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว

หลักการและเหตุผล

          การอ่านเป็นการพัฒนาความคิด ซึ่งเราสามารถปลูกฝังการอ่านให้แก่เด็กได้ตั้งแต่วัยเยาว์ นั่นหมายถึงผู้ปกครองสามารถอ่านหนังสือหรือนิทานให้แก่เด็กได้ตั้งแต่ขวบปีแรก และให้ทำจนเป็นนิสัย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก
           การตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และธรรมชาติของเด็กในระดับปฐมวัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่เด็กในวัยนี้ การเล่านิทานเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็ก การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวันมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการเล่านิทานทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์แล้ว เนื้อหาในนิทานยังสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนของเด็ก อีกทั้งยังช่วยเสริม สร้างพัฒนาการในด้านภาษาของเด็กได้อีกด้วย เด็กมักจะรบเร้า เรียกร้องให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังทุกวัน แม้ว่านิทานเรื่องนั้นเด็กจะเคยฟังมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม เด็กบางคนอาจต้องการออกมาเล่านิทานให้เพื่อนๆฟัง หรือเด็กบางคนอาจต้องการแสดงบทบาทของตัวละครในนิทาน พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและธรรมชาติของเด็กทุกคนที่ชอบฟังนิทาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กในระดับใด การฟังนิทานนอกจากจะทำให้เด็กมีความสนุกสนาน และผ่อนคลายอารมณ์แล้ว นิทานยังช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางภาษา โดยเฉพาะทักษะการฟัง การพูด การกล้าแสดงออก การคิดและจินตนาการที่กว้างไกล
          เนื่องจากในปัจจุบันเด็กไม่ค่อยอ่านหนังสือหรืออาจเกิดจากผู้ปกครองไม่ค่อยสนใจ ผู้จัดทำได้คิดหาวิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย  โดยการจัดทำโครงการ “นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว” เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กรักการอ่านและอีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อครอบครัว

วัตถุประสงค์

          1.เพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองและส่งเสริมการอ่านโดยผ่านนิทาน
          2.เพื่อสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก

เนื้อหา

          นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัวส่งเสริมการอ่านผ่านเทคนิคการเล่านิทานด้วยวิธีการ ดังนี้ 
              1.การเลือกนิทาน
              2.การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
              3.ประโยชน์จากการฟังนิทาน
              4.วิธีเล่านิทาน

          การเล่านิทานให้ลูกฟัง เป็นการเล่าเรื่องหรือถ่ายทอดเรื่องราวของนิทานที่พ่อแม่ ผู้ใหญ่ หรือครูเล่าให้เด็กฟัง อาจจะเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา เรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กมีความสนุกสนาน และสอดแทรกแนวคิด คุณธรรม ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ให้เด็กเข้าใจ ด้วยน้ำเสียง ท่าทาง สื่อและวัสดุอุปกรณ์ที่ทำให้การเล่านิทานนั้นน่าสนใจและสนุกสนานมากขึ้น
การตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และธรรมชาติของเด็กในระดับปฐมวัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่เด็กในวัยนี้ การเล่านิทานเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็ก การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวันมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการเล่านิทานทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์แล้ว เนื้อหาในนิทานยังสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนของเด็ก อีกทั้งยังช่วยเสริม สร้างพัฒนาการในด้านภาษาของเด็กได้อีกด้วย เด็กมักจะรบเร้า เรียกร้องให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังทุกวัน แม้ว่านิทานเรื่องนั้นเด็กจะเคยฟังมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม เด็กบางคนอาจต้องการออกมาเล่านิทานให้เพื่อนๆฟัง หรือเด็กบางคนอาจต้องการแสดงบทบาทของตัวละครในนิทาน พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและธรรมชาติของเด็กทุกคนที่ชอบฟังนิทาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กในระดับใด การฟังนิทานนอกจากจะทำให้เด็กมีความสนุกสนาน และผ่อนคลายอารมณ์แล้ว นิทานยังช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางภาษา โดยเฉพาะทักษะการฟัง การพูด การกล้าแสดงออก การคิดและจินตนาการที่กว้างไกล รวมถึงการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับเด็กจากการฟังนิทานที่มีเนื้อหาสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามจากการเลียนแบบพฤติกรรมของตัวละครในนิทานที่เด็กได้ฟัง เด็กจะมีความเชื่อ ศรัทธา และพร้อมที่จะปฏิบัติตนตามบทบาทของตัวละครนั้นๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มักจะมีการเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆจากการเลียนแบบบุคคลที่เด็กรักและศรัทธาและเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูร่า (Bandura Social Learning Theory) ที่เชื่อว่าเด็กเรียนรู้พฤติกรรมจากการใช้ตัวแบบ สัญลักษณ์และทุกสิ่งทุกอย่างในสังคม (Learning through modeling) ซึ่งเกิดจากการรับรู้พฤติกรรม และสามารถแสดงพฤติกรรมหรือกระทำตามตัวแบบนั้นได้ นิทานมีอิทธิพลต่อเด็กปฐมวัยมาก การที่พ่อแม่และครูสร้างความใกล้ชิดกับเด็กโดยการเล่านิทานจะช่วยให้เข้าใจเด็กมากขึ้น ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน มีความรู้สึกอบอุ่นและใกล้ชิดผู้เล่า การเล่านิทานให้เด็กฟังอย่างสม่ำเสมอทำให้เด็กรับรู้ถึงความรู้สึกว่าได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ การเล่านิทานให้เด็กฟังไม่ใช่เล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกและตลกขบขันเท่านั้น แต่ความเป็นจริงเด็กต้องการความน่าสนใจและประโยชน์ที่ได้จากการฟังนิทานในด้านของการสร้างสรรค์จินตนาการ ความคิด ความเข้าใจ ความฝันและการรับรู้ให้กับเด็ก ตัวละครแต่ละตัวในนิทานจะสร้างจินตนาการในสมองเด็ก การเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กในการสร้างเสริมเด็กได้ในทุกเรื่องรวมถึงการสร้างนิสัยรักการอ่าน อีกทั้งยังช่วยส่ง เสริมพัฒนาการตามวัยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้เกิดกับเด็กได้อีกด้วย

เป้าหมาย

          เป้าหมายเชิงปริมาณ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน  10 ครอบครัว
เป้าหมายเชิงคุณภาพ   ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจในโครงการ
วันเวลาและสถานที่
           วันศุกร์ ที่ 25 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 ณ ชุมชนสุเหร่าแดง กรุงเทพมหานคร
รูปแบบการจัดโครงการ / เทคนิค
           - อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว
           - การจัดป้ายนิเทศให้ความรู้โครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว
           - แผ่นพับให้ความรู้โครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว

แผนการดำเนินงาน
1.สำรวจความต้องการของผู้ปกครอง
2.เขียนโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง
3.การเตรียมงาน (P)
- วางแผนเกี่ยวกับโครงการ
- สื่อที่ใช้การในการทำโครงการ
- การแบ่งหน้าที่กันทำโครงการ
4.การดำเนินงาน (D)
- จัดทำนิทรรศการ
- จัดทำกิจกรรมให้กับผู้ปกครอง
-สรุปกิจกรรม
5.การติดตามผล (C)
-การใช้แบบสอบถามผู้ปกครอง
การสรุปผลและการประเมินผล (A)
-วิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำรูปเล่มรายงาน

งบประมาณรวม 1000 บาท
1.ค่าใช้สอย  500  บาท
  • ค่ารถ          200   บาท
  • อาหารว่าง  300 บาท
2. ค่าวัสดุ          500 บาท
   • หนังสือนิทาน 500 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          ผู้ปกครองมีความรู้ สามารถนำนิทานไปปฏิบัติในเวลาว่างกับเด็กและเด็กรักการอ่านหนังสือ

การประเมินและติดตามผล
          1. ประเมินจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง
          2. สะท้อนความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มในการทำกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.นางสาวทาริกา เสมวงค์         ประธานโครงการ
2.นางสาวสุธาสิณี อายุมั่น         รองประธานโครงการ
3.นางสาววราพร สงวนประชา         กรรมการ
4.นางสาวนิตยา นนทคำจันทร์         กรรมการ
5.นางสาวนันทนาภรณ์ คำอ่อน กรรมการ
6.นางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา         กรรมการ
7.นางสาวสาวิตรี จันทร์สิงห์         กรรมการและเลขาณุการ



บอร์ดที่ใช้ในการนำเสนอโครงการ




























บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันจันทร์ ที่ 21 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559( เวลา 14.30-17.30น.)


ทำโครงการ

ชื่อโครงการ : นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว

หลักการและเหตุผล

          การอ่านเป็นการพัฒนาความคิด ซึ่งเราสามารถปลูกฝังการอ่านให้แก่เด็กได้ตั้งแต่วัยเยาว์ นั่นหมายถึงผู้ปกครองสามารถอ่านหนังสือหรือนิทานให้แก่เด็กได้ตั้งแต่ขวบปีแรก และให้ทำจนเป็นนิสัย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก
           การตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และธรรมชาติของเด็กในระดับปฐมวัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่เด็กในวัยนี้ การเล่านิทานเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็ก การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวันมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการเล่านิทานทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์แล้ว เนื้อหาในนิทานยังสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนของเด็ก อีกทั้งยังช่วยเสริม สร้างพัฒนาการในด้านภาษาของเด็กได้อีกด้วย เด็กมักจะรบเร้า เรียกร้องให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังทุกวัน แม้ว่านิทานเรื่องนั้นเด็กจะเคยฟังมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม เด็กบางคนอาจต้องการออกมาเล่านิทานให้เพื่อนๆฟัง หรือเด็กบางคนอาจต้องการแสดงบทบาทของตัวละครในนิทาน พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและธรรมชาติของเด็กทุกคนที่ชอบฟังนิทาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กในระดับใด การฟังนิทานนอกจากจะทำให้เด็กมีความสนุกสนาน และผ่อนคลายอารมณ์แล้ว นิทานยังช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางภาษา โดยเฉพาะทักษะการฟัง การพูด การกล้าแสดงออก การคิดและจินตนาการที่กว้างไกล
          เนื่องจากในปัจจุบันเด็กไม่ค่อยอ่านหนังสือหรืออาจเกิดจากผู้ปกครองไม่ค่อยสนใจ ผู้จัดทำได้คิดหาวิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย  โดยการจัดทำโครงการ “นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว” เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กรักการอ่านและอีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อครอบครัว

วัตถุประสงค์

          1.เพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองและส่งเสริมการอ่านโดยผ่านนิทาน
          2.เพื่อสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก

เนื้อหา

          นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัวส่งเสริมการอ่านผ่านเทคนิคการเล่านิทานด้วยวิธีการ ดังนี้ 
              1.การเลือกนิทาน
              2.การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
              3.ประโยชน์จากการฟังนิทาน
              4.วิธีเล่านิทาน

          การเล่านิทานให้ลูกฟัง เป็นการเล่าเรื่องหรือถ่ายทอดเรื่องราวของนิทานที่พ่อแม่ ผู้ใหญ่ หรือครูเล่าให้เด็กฟัง อาจจะเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา เรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กมีความสนุกสนาน และสอดแทรกแนวคิด คุณธรรม ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ให้เด็กเข้าใจ ด้วยน้ำเสียง ท่าทาง สื่อและวัสดุอุปกรณ์ที่ทำให้การเล่านิทานนั้นน่าสนใจและสนุกสนานมากขึ้น
การตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และธรรมชาติของเด็กในระดับปฐมวัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่เด็กในวัยนี้ การเล่านิทานเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็ก การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวันมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการเล่านิทานทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์แล้ว เนื้อหาในนิทานยังสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนของเด็ก อีกทั้งยังช่วยเสริม สร้างพัฒนาการในด้านภาษาของเด็กได้อีกด้วย เด็กมักจะรบเร้า เรียกร้องให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังทุกวัน แม้ว่านิทานเรื่องนั้นเด็กจะเคยฟังมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม เด็กบางคนอาจต้องการออกมาเล่านิทานให้เพื่อนๆฟัง หรือเด็กบางคนอาจต้องการแสดงบทบาทของตัวละครในนิทาน พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและธรรมชาติของเด็กทุกคนที่ชอบฟังนิทาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กในระดับใด การฟังนิทานนอกจากจะทำให้เด็กมีความสนุกสนาน และผ่อนคลายอารมณ์แล้ว นิทานยังช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางภาษา โดยเฉพาะทักษะการฟัง การพูด การกล้าแสดงออก การคิดและจินตนาการที่กว้างไกล รวมถึงการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับเด็กจากการฟังนิทานที่มีเนื้อหาสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามจากการเลียนแบบพฤติกรรมของตัวละครในนิทานที่เด็กได้ฟัง เด็กจะมีความเชื่อ ศรัทธา และพร้อมที่จะปฏิบัติตนตามบทบาทของตัวละครนั้นๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มักจะมีการเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆจากการเลียนแบบบุคคลที่เด็กรักและศรัทธาและเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูร่า (Bandura Social Learning Theory) ที่เชื่อว่าเด็กเรียนรู้พฤติกรรมจากการใช้ตัวแบบ สัญลักษณ์และทุกสิ่งทุกอย่างในสังคม (Learning through modeling) ซึ่งเกิดจากการรับรู้พฤติกรรม และสามารถแสดงพฤติกรรมหรือกระทำตามตัวแบบนั้นได้ นิทานมีอิทธิพลต่อเด็กปฐมวัยมาก การที่พ่อแม่และครูสร้างความใกล้ชิดกับเด็กโดยการเล่านิทานจะช่วยให้เข้าใจเด็กมากขึ้น ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน มีความรู้สึกอบอุ่นและใกล้ชิดผู้เล่า การเล่านิทานให้เด็กฟังอย่างสม่ำเสมอทำให้เด็กรับรู้ถึงความรู้สึกว่าได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ การเล่านิทานให้เด็กฟังไม่ใช่เล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกและตลกขบขันเท่านั้น แต่ความเป็นจริงเด็กต้องการความน่าสนใจและประโยชน์ที่ได้จากการฟังนิทานในด้านของการสร้างสรรค์จินตนาการ ความคิด ความเข้าใจ ความฝันและการรับรู้ให้กับเด็ก ตัวละครแต่ละตัวในนิทานจะสร้างจินตนาการในสมองเด็ก การเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กในการสร้างเสริมเด็กได้ในทุกเรื่องรวมถึงการสร้างนิสัยรักการอ่าน อีกทั้งยังช่วยส่ง เสริมพัฒนาการตามวัยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้เกิดกับเด็กได้อีกด้วย

เป้าหมาย

          เป้าหมายเชิงปริมาณ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน  10 ครอบครัว
เป้าหมายเชิงคุณภาพ   ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจในโครงการ
วันเวลาและสถานที่
           วันศุกร์ ที่ 25 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 ณ ชุมชนสุเหร่าแดง กรุงเทพมหานคร
รูปแบบการจัดโครงการ / เทคนิค
           - อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว
           - การจัดป้ายนิเทศให้ความรู้โครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว
           - แผ่นพับให้ความรู้โครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว

แผนการดำเนินงาน
1.สำรวจความต้องการของผู้ปกครอง
2.เขียนโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง
3.การเตรียมงาน (P)
- วางแผนเกี่ยวกับโครงการ
- สื่อที่ใช้การในการทำโครงการ
- การแบ่งหน้าที่กันทำโครงการ
4.การดำเนินงาน (D)
- จัดทำนิทรรศการ
- จัดทำกิจกรรมให้กับผู้ปกครอง
-สรุปกิจกรรม
5.การติดตามผล (C)
-การใช้แบบสอบถามผู้ปกครอง
การสรุปผลและการประเมินผล (A)
-วิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำรูปเล่มรายงาน

งบประมาณรวม 1000 บาท
1.ค่าใช้สอย  500  บาท
  • ค่ารถ          200   บาท
  • อาหารว่าง  300 บาท
2. ค่าวัสดุ          500 บาท
   • หนังสือนิทาน 500 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          ผู้ปกครองมีความรู้ สามารถนำนิทานไปปฏิบัติในเวลาว่างกับเด็กและเด็กรักการอ่านหนังสือ

การประเมินและติดตามผล
          1. ประเมินจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง
          2. สะท้อนความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มในการทำกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.นางสาวทาริกา เสมวงค์         ประธานโครงการ
2.นางสาวสุธาสิณี อายุมั่น         รองประธานโครงการ
3.นางสาววราพร สงวนประชา         กรรมการ
4.นางสาวนิตยา นนทคำจันทร์         กรรมการ
5.นางสาวนันทนาภรณ์ คำอ่อน กรรมการ
6.นางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา         กรรมการ
7.นางสาวสาวิตรี จันทร์สิงห์         กรรมการและเลขาณุการ




วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันจันทร์ ที่ 14 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559( เวลา 14.30-17.30น.)



เนื้อหาที่เรียน
         จากสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจารย์แนะนำให้ไปทำเอกสารการทำโครงการให้ได้มากที่สุด แล้วนำข้อมูลและเอกสารมาให้อาจารย์ตรวจดูความก้าวหน้าของการทำ วันนี้กลุ่มดิฉันทำโครงการนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ผู็ปกครองก็นำ ตัวโครงการ แผ่นพับ ที่คั่นหนังสือมาให้อาจารย์ตรวจดู อาจารย์ก็ได้ตรวจและให้คำแนะนำไปปรับให้ดี เพื่อให้งานมีความถูกต้องจึงจะสามารถไปจัดโครงการในพื้นที่ต่างๆได้



บรรยากาศการเขียนโครงการ















การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-การปปรับข้อมูลให้ดีให้ถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลไปให้ความรู้กับผู็ปกครองได้อย่างถูกต้อง


การประเมินผล
ประเมินตนเอง :จดบันทึกในสมุดเมื่ออาจารย์อธิบาย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังและช่วยกันทำโครงการดีมาก
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ความรู้ในการทำโครงการละเอียดดีมากค่ะ


วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 

วันจันทร์  ที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (เวลา 14.30-17.30 น.)


เนื้อหาที่เรียน
       สำหรับการเรียนวันนี้อาจารย์ได้เรียกกลุ่มการจัดทำโครงการให้มาประชุมทีละกลุ่ม เพื่ออธิบายการทำโครงการที่จะจัดทำและนำเสนอขึ้นในเร็วๆนี้ อาจารย์ก็ให้คำแนะนำการเขียนโครงการประกอบด้วย

1.โครงการ
2.ทำคำสั่งแต่งตั้ง 
3.กิจกรรม 
4.จัดทำเอกสารให้ความรู้ ได้แก่  บอร์ด แผ่นพับ กิจกรรม
5.ใบเซ็นชื่อลงทะเบียน
6.แบบประเมินความพึงพอใจ
7.บันทึกรูปภาพระหว่างทำกิจกรรม




อาจารย์อธิบายการทำโครงการ








โครงการเรื่อง นิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ครอบครัว















การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การให้ความรู้ผู้ปกครองของกลุ่มดิฉันคือ  นำเทคนิคกิจกรรมการเล่านิทาน เพื่อเป็นการสานสัมพันธ์
อันดีระหว่างผู้ปกครองกับเด็กปฐมวัยอีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการ อ่านหนังสือ 


การประเมินผล
ประเมินตนเอง :วันนี้ก็ตั้งใจฟังลายละเอียดที่อาจารย์อธิบายการจัดทำโครงการพร้อมบันทึกลายละเอียดลงในสมุดโน๊ต
ประเมินเพื่อน : เพื่อนก็ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการทำโครงการดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายการทำโครงการได้ละเอียดและเป็นกันเองกับนักศึกษาดี