พุยพุย

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 22 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 (เวลา 14.30-17.30)


เนื้อหาที่เรียน
     สำหรับเนื้อหาที่เรียนบทที่ 3 เรื่องการสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
      การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
สรุป การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน


อาจารยฺ์พูดคุยกับนักศึกษาก่อนเรียน



เกมการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง



เกมพลายกระซิบ




เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร


ข้อคิดดีๆหลังเรียนเสร็จ





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-การสื่อสารกับผู้ปกครองมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเราเป็นครูปฐมวัยต้องพบผู้ปกครองทุกวัน ก็ต้องมีการพูดคุยสื่อสารกับผู้ปกครองเป็นเรื่องธรรมดา เราจะต้องใช้ภาษาให้ถูกต้อง เหมาะสม


คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข
         ความสำคัญของการสื่อสาร
          1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
          2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
          3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
         4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
         5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ  ช่วยให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ เช่น ปัญหาของบุตรหลาน หรือจะเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้เด็กทำ

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล  (Berlo’s Model of Communication) ผู้ส่งสาร   สาร    ช่องทาง     ผู้รับสาร เช่นครูเปิ้ลมีจดหมายให้ประชุมผู้ปกครองนักเรียนชั้น อ.1 ครูจึงทำจดหมายแจกผู้ปกครองที่มารับนักเรียนหลังเลิกเรียน เมื่อถึงวันผู้ปกครงก็มาประชุมตามกำหนดการในจดหมาย

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ  1.เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
         2.เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
         3.มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
        4.เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
        5.เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
        6.ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
        7.เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ    1.ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมในเรื่องดังนี้ พื้นฐาน
           ประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
           2.ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
           3.อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภทคือ  อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ ฯลฯ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด  ซึ่งอารมณ์ทั้ง 2 นี้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
           4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  เช่น ต้องการรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลาน ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
           5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
         6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น
                - จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้
                - ช่วงเวลาในการจัดให้ความรู้ ควรมีเวลาที่สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม
         7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
วันนี้ก็ตั้งใจฟังดี มีการจดบันทึกข้อความสำคัญลงสมุดและบันทึกกิจกรรมรายละเอียดที่จะบันทึกในบล็อก


ประเมินเพื่อน
เพื่อนห้องเราค่อยข้างตลกเวลาที่ทำกิจกรรมแล้วรู้สึกสนุกสนาน เวลาที่เงียบก็จะเงียบมาก

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมกิจรรมเกมการสื่อสารมาก่อนจะเรียน วันนี้ก็มีความสุขกับการเล่นเกมและเนื้อหาที่อาจารย์สอนค่ะ











วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  3
วันจันทร์ ที่ 22 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2559( เวลา 14.30-17.30น.)



อาจารย์ประชุม จึงได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันจันทร์ ที่ 15 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2559




เนื้อหาที่เรียน 
วันนี้เรียนเรื่อง หลักเบื้อต้นในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


                                                         อาจารย์ตั้งใจสอนมากอิอิ


                                                                   เพื่อนๆตั้งใจเรียน





                                                     วันนี้อาจารย์แจกใบปั๊มเช็คชื่อด้วย




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การให้ความรู้ผู้ปกครองจะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกันที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดความสับสน
-การให้การศึกษาผู้ปกครอง เพื่อจัดการศึกษา พัฒนาตัวเด็กผู้ปกครองจะเข้าใจการเรียนรู้เด็กปฐมวัย ทำให้การดำเนินงานบ้านและโรงเรียนไปในแนวเดียวกัน


การประเมินผล
ประเมินตนเอง
วันนี้ก็ตั้งใจเรียนดี จดบันทึกลงสมุดเมื่ออาจารย์อธิบาย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนก็ตั้งใจเรียนดี แต่มีบางครั้งที่เสียงดัง อาจารย์เตือน เพื่อนๆก็จะเงียบไป

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมการสอนมาพร้อม สอนเข้าใจดี แต่งกายถูกเรียบร้อยมากเลยค่ะ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วันจันทร์ ที่ 8 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2559



เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์แนะนำการเรียน จากนั้นก็สอนเนื้อหาบทที่ 1

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การให้คำปรึกษาลผู้ปกครองทำให้ครูผู้สอนและผู้ครองสามารถช่วยปรับพฤติกรรมเด็กได้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
สำหรับบการเรียนวันแรกของการเปิดเทอม ก็สบายๆ และก็แอบคิดว่ายังไม่ได้เรียน 5555 แต่ทีจริงก็ได้เรียน  ก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอนดีค่ะ

ประเมินเพื่อน
วันนี้ก็ได้พบกับเพื่อนๆหลายคนที่ไม่เคยได้เรียนด้วย แต่เพือนหลายคนไม่มาเรียนในคาบแรก

ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ก็มาสอน เตรียมการสอนมาพร้อมสอนมาก